เกี่ยวกับการประชุม

การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สาธารณสุขวิจัย”             ครั้งที่ 3
Technology and Innovation for Health

หลักการและเหตุผล
สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีจุดมุ่งเน้นในการดำเนินงานด้านการวิจัยตามนโนบายของมหาวิทยาลัย ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ภาระกิจที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง    คือ การประชุมวิชาการระดับชาติสาธารณสุขวิจัย สำนักวิชาตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในด้านสุขภาพในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้บุคลากรด้านสุขภาพต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ในการคิดพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน การพัฒนาระบบสารสนเทศและความรู้ด้านสุขภาพเพื่อยกระดับการให้บริการงานสาธารณสุขไทย ในปีนี้การจัดงานประชุมได้มีเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระดับสากลมากขึ้นโดยมีการเพิ่มเครือข่ายในประเทศ 1 เครือข่าย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และต่างประเทศจำนวน 5 เครือข่าย  คือ Universiti Putra Malaysia, Universiti Sains Malaysia, Universiti Pendidikan Sultan Idris, (UPSI) (Malaysia), Chung Yuan Christian University (Taiwan), Center for Environmental and Health Sciences, Hokkaido University, (Japan)
ทั้งนี้ การจัดการประชุมดังกล่าวจะเเป็นการขยายความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย ร่วมถึงการได้รับมุมมอง ประเด็นที่หลากหลายในงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพที่ในงานทางสาธารณสุข เพื่อได้องค์ความรู้จากการวิจัยนำไปสู่การพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์สำนักวิชาและมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์ของการประชุมวิชาการ
 1) เพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิชาการด้านสาธารณสุข
2) เพื่อเวทีให้คณาจารย์ บุคลากรทางสุขภาพ (Health Personal) และนักศึกษา นำเสนองานวิจัยและวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวทางการวิจัยและพัฒนาวิชาการ ของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เพื่อการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยการวิจัย
3) เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านสาธารณสุขทั้งระดับชาติและนานาชาติ
4) เพื่อประชาสัมพันธ์สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และสถาบันเครือข่าย
แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
1. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย                                                                                                                                       การพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการและชุมชน แรงงานนอกระบบ การสร้างเสริมสุขภาพของแรงงาน การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ การประเมินความสามารถในการทำงาน การประเมินความเสี่ยง
2. อนามัยสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เทคโนโลยีและการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษข้ามแดน ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน
3.  การจัดการสุขภาพตามช่วงวัย
การป้องกันและควบคุมโรค โรคติดต่อ การสร้างเสริมสุขภาพตามช่วงวัย โภชนาการ การดูแลผู้สูงอายุ แรงงานผู้สูงอายุ สุขภาพจิต
4. การจัดการระบบสุขภาพ (รอข้อมูลเพิ่มเติมจาก สจรส.)
ระบบบริการสุขภาพ                                                                                       
–  ระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม                                                            
–  ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน                                                            
–  ระบบบริการสุขภาพในกลุ่มเปราะบาง                                                
–  ระบบการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพและการสื่อสาร                                                                                              
–  การจัดการระบบบริการสุขภาพภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยง
(ความไม่สงบ และภัยพิบัติ)
นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
– ธรรมนูญสุขภาพชุมชน
– สมัชชาสุขภาพเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ของชุมชน
ระบบสุขภาพชุมชน
– การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (จากสุรา ยาสูบ และ ยาเสพติด)
– กิจกรรมทางกายในแต่ละช่วงวัย
– การจัดการระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และ โภชนาการสมวัย)
– สุขภาวะชุมชนและนวัตกรรมชุมชน
การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
–  การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน
–  การประเมินผลกระทบทางสุขภาพต่อประเด็นต่าง ๆ
5.  บุหรี่ แอลกอฮอล์ NCD
นโยบายและแผน พฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยง ปัจจัยและผลกระทบด้านบุหรี่ แอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ และการบาดเจ็บ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
6. วิทยาศาสตร์การกีฬา
ชีวกลศาสตร์ จิตวิทยา การเป็นผู้ฝึกกีฬา สรีรวิทยา โภชนศาสตร์ การบาดเจ็บและการฟื้นฟูทางการกีฬาและการออกกำลังกาย
7. นวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและออกกำลังกาย
นวัตกรรมและสื่อทางการส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา กิจกรรมทางกาย สมรรถภาพทางกาย และการอยู่ดีมีสุข
8. การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย  การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้าน การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในงานสาธารณสุข
 9. การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) องค์ความรู้จากงานวิจัย งานวิชาการด้านสาธารณสุขที่ทันสมัย
2) เครือข่ายด้านการวิจัยและวิชาการ กับสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านสาธารณสุขทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะทำให้สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
3) การเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา การสร้างบรรยากาศด้านการวิจัยและวิชาการในสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ภาคีเครือข่าย
  1.  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  2. คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ 
  3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี
  4. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.มอ.)
  5. Department of Environmental and Occupational Health, Universiti Putra
    Malaysia
  6. Department of Family Medicine, Universiti Sains Malaysia
  7. Faculty of Sports Science and Coaching, Universiti Pendidikan Sultan Idris
    (UPSI) (Malaysia)
  8. Department of Environmental Engineering, Chung Yuan Christian University (Taiwan)
  9. Center for Environmental and Health Sciences, Hokkaido University (Japan)